|
|
"ประวัติการเพาะและอนุบาลลูกหอยหวานในประเทศไทย" |
|
|
พ.ศ. 2530 กรมประมงโดยศูนย์พัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยฝั่งตะวันออกได้เริ่มทดลองเพาะพันธุ์ลูกหอยหวาน
เพื่อปล่อยแหล่งน้ำ (รัตนาและประวิม, 2531)
พ.ศ. 2539 ธานินทร สิงหะไกรวรรณ
อนุบาลลูกหอยหวานในระยะ veliger ด้วย Isochrysis
sp. และในระยะที่ลูกหอยลงพื้นให้เนื้อปลาเป็นอาหาร
(ธานินทร, 2539)
พ.ศ. 2539 Thanate poomtong และ
J. Nhongmeesub อนุบาลลูกหอยหวานในระยะ veliger โดยให้แ้พลงก์ตอนพืช
2 ชนิด ได้แก่ Isochrysis sp. และ Chaetoceros
sp. เป็นอาหาร และในระยะที่ลูกหอยลงพื้นให้เต้าหู้และเนื้อปลาเป็นอาหาร
(Tanate and Nhongmeesub, 1996)
พ.ศ. 2543 นิพนธ์ ศิริพันธ์ และ จรัญวงษ์วิวัฒนาวุฒิ
ทดลองอนุบาลลูกหอยหวานระยะ veliger lavae ด้วยแพลงก์ตอนพืช
Chaetoceros sp. และอนุบาลต่อจากระยะลงพื้นถึงขนาด
1 ซม. โดยให้กินเนื้อปลาสดเป็นอาหาร (นิพนธ์และจรัญ,
2543) |
 |
หอยหวาน |
|
|
|
พ.ศ. 2548 บังอร ศรีมุกดา และคณะ เสนองานทดลองเรื่อง
การผลิตลูกหอยหวานเชิงพาณิชย์ มีรายละเอียดวิธีการเพาะและอนุบาล
ด้วยเงินลงทุนไม่สูง ซึ่งเว็บเพจนี้ขอนำเสนอเนื้อหาการเพาะและอนุบาลบางส่วน |
|
|
|
|
|
|
|
การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์หอยหวานเพื่อผลิตฝักไข่หอย |
|
|
บ่อที่ใช้
เป็นบ่อคอนกรีตขนาด 1.5x10 เมตร มีทรายรองพื้นบ่อ
เติมน้ำประมาณ 80 เซนติเมตร มีหลังคาคลุม ระบบอากาศใช้หัวทราย |
|
พ่อแม่พันธุ์หอยหวาน
ปล่อยหอยหวานเพศผู้และเมียขนาดประมาณ 30 ตัว/กก. ความหนาแน่นประมาณ
100 ตัว/ตร.ม. ให้อาหารวันละ 1 ครั้ง เช่น เนื้อปลา
หากพบว่าที่พื้นทรายมีฝักไข่หอยเกาะติดอยู่ ให้ลงเก็บฝักไข่หอยระหว่างการลดน้ำในบ่อเพื่อเปลี่ยนถ่ายน้ำ
|
 |
บ่อพ่อแม่พันธุ์หอยหวาน |
|
 |
ฝักไข่หอยติดกับทราย |
|
|
|
|
|
|
เก็บฝักไข่หอยมาฟักในถังพลาสติกขาว
200 ลิตร |
|
ฝักไข่หอยหวานที่เก็บมาจากบ่อพ่อแม่พันธุ์ จะถูกล้างทำความสะอาดและนำมาใส่ในตะกร้าพลาสติก
จากนั้นนำไปลอยน้ำในถังพลาสติกสีขาวความจุน้ำ 200 ลิตร
ดูแลโดยเปลี่ยนถ่ายน้ำโดยไม่ต้องให้อาหาร รอประมาณ
5 วัน ลูกหอยที่พัฒนาตัวเองอยู่ในฝักไข่ก็ใกล้จะออกจากฝักไข่แล้ว |
 |
ฝักไข่ในตะกร้า |
|
|
เมื่อเห็นว่าตะกร้าไหนลูกหอยใกล้ออกจากฝักไข่
ก็ย้ายตะกร้านั้นไปลอยน้ำในถังพลาสติกสีขาวถังใหม่
ถังละ 1 ตะกร้า
เมื่อลูกหอยออกจากฝักไข่หมด
ลูกหอยจะว่ายน้ำออกมาในถัง เรียกลูกหอยระยะนี้ว่า Veliger
หรือ หอยบิน ให้เก็บตะกร้าพลาสติกออกจากถังสีขาว เปลี่ยนถ่ายน้ำ
เริ่มอนุบาลและให้อาหาร
จากการทดลองผลิตลูกหอยหวานเชิงพาณิชย์ของ
บังอรและคณะ (2548) ได้อนุบาลลูกหอยในถังนี้สูงถึงประมาณ
1,000 ตัว/ลิตร หรือถังละเกือบสองแสนตัว
|
 |
ลูกหอยในฝักไข่อายุ
6 วัน |
|
 |
ลอย
1 ตะกร้าต่อ 1 ถัง |
|
|
|
|
|
|
อนุบาลลูกหอยที่ออกจากฝัก
ให้แพลงก์ตอนพืชเป็นอาหาร |
|
|
 |
ถังขาว
200 ลิตรเพาะแพลงก์ตอน |
|
 |
ลูกหอยระยะ
Veliger |
|
อาหารของลูกหอยหวานระยะ Veliger หรือ ที่เรียกกันว่า
ระยะหอยบิน ได้แก่แพลงก์ตอนพืช เช่น เตตร้าเซลมิส คีโตเซอรอส
เตรียมอาหารโดยขยายพันธุ์แพลงก์ตอนพืชในถังสีขาวขนาด
200 ลิตร
|
|
 |
ตักแพลงก์ตอนให้เป็นอาหาร |
|
 |
ให้อาหารเสริม
สไปรูไลน่า |
|
ใช้กระป๋องตักแพลงก์ตอนพืชให้ลูกหอยกินวันละ 3 มื้อ
ๆ ละประมาณ 15 ลิตร
หากแพลงก์ตอนไม่พออาจให้อาหารอื่นเสริมแทน เช่น สไปรูไลน่าผง
ดูแลโดยเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกวัน หลังจากนั้นประมาณ 1 สัปดาห์
ลูกหอยก็จะปรับเปลี่ยนรูปร่างและเริ่มลงพื้น
|
|
|
|
|
|
ลูกหอยลงพื้น
ย้ายมาเลี้ยงในถังพลาสติกที่รองพื้นด้วยทราย |
|
|
 |
ลูกหอยเริ่มลงพื้น |
|
 |
ลูกหอยระยะลงพื้น |
|
เมื่อพบว่าลูกหอยเริ่มลงพื้น รวบรวมลูกหอยจากถังพลาสติกสีขาวมาเลี้ยงในถังพลาสติกสีน้ำเงินที่มีทรายละเอียดรองพื้น
โรงเพาะฟักของ ศพช. จันทบุรี อนุบาลลูกหอยหวานระยะลงพื้นในกระชังที่วางในถังสีน้ำเงินเพื่อสะดวกในการถ่ายน้ำ
เมื่อลูกหอยลงพื้นหมด ซึ่งกินเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ ก็จะย้ายลูกหอยจากกระชังลงอนุบาลในถังสีน้ำเงิน
|
|
 |
ย้ายลูกหอยมาอนุบาลในทราย |
|
 |
ถังพลาสติกสีน้ำเงิน |
|
ถังพลาสติกสีน้ำเงินมีพื้นที่ก้นถัง 0.64 ตร.ม. อนุบาลลูกหอยระยะลงพื้นได้ประมาณ
3 หมื่น ตัว
ดูแลโดยเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกวัน เมื่อลูกหอยโตขึ้นต้องเพิ่มถังเพื่อลดความหนาแน่น
ลูกหอยอายุ 45-60 วัน หรือขนาดประมาณ 0.7-1 ซม. จะอนุบาลถังละประมาณ
5-6 พัน ตัว
|
|
|
|
|
|
ลูกหอยลงพื้น
เริ่มกินอาร์ทีเมียและเนื้อปลา |
|
|
 |
ลูกหอยใช้งวงดูดกินเนื้อปลา |
|
 |
ลูกหอยขนาด
1 ซม. กำลังกินปลา |
|
ลูกหอยหวานเมื่อเริ่มลงพื้น จะให้กินอาร์ทีเมีย ตัวโตเต็มวัย
จากนั้นจะปรับให้กินเนื้อปลา
อนุบาลลูกหอยตั้งแต่ออกจากฝักไข่จนถึงเวลาประมาณ 2 เดือน
ก็จะได้ลูกหอยหวานขนาดประมาณ 1 ซม. พร้อมจำหน่าย
|
|
|
|
|
|
เก็บลูกหอยจำหน่าย
(ตัวละ 60 สตางค์) |
|
|
 |
เก็บลูกหอยหวานจากทรายในบ่อ |
|
 |
นำลูกหอยมาพักในถังพลาสติก |
|
ใช้สวิงตักลูกหอยจากบ่อ ล้างทรายออก แล้วนำมาพักในถังพลาสติกสีน้ำเงินแบบที่ใช้อนุบาล
|
|
|
 |
บรรจุลูกหอย |
|
|
|
|
|
|
|
บ่อคอนกรีตอนุบาลลูกหอยขนาด
1.3-1.5 เซนติเมตร |
|
|
 |
บ่อขนาด
2 ตร.ม. อนุบาลลูกหอย |
|
 |
ลูกหอยหวานขนาด
1.3-1.5 ซม. |
|
การอนุบาลลูกหอยหวานให้มีขนาดใหญ่ขึ้น (1.3-1.5 ซม.)
อาจย้ายจากถังพลาสติกสีน้ำเงินมาอนุบาลในบ่อคอนกรีต
ศพช. จันทบุรีใช้บ่อคอนกรีตขนาดพื้นที่ก้นบ่อ 2 ตร.ม.
มีทรายรองพื้นบ่อ อนุบาลลูกหอยได้บ่อละ 6-8 พันตัว
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
เอกสาร
ธานินทร
สิงหะไกรวรรณ. 2539. การศึกษาชีววิทยาบางประการของหอยหวานในบ่อเลี้ยงเพื่อการผลิตพันธุ์สำหรับปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาติ.
เอกสารวิชาการฉบับที่ 57, ศูนย์พัฒนาการประมงทะเลอ่าวไทยฝั่งตะวันออก,
กองประมงทะเล, กรมประมง, 42 หน้า.
นิพนธ์
ศิริพันธ์ และ จรัญ วงษ์วิวัฒนาวุฒิ. 2543. การเพาะฟักหอยหวาน
(Babylonia areolata Link , 1807) เอกสารวิชาการฉบับที่
51/2543 สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจังหวัดชลบุรี กองเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งร่วมกับสำนักวิชาการ,
กรมประมง, กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์, 46 หน้า.
บังอร
ศรีมุกดา สุรชาต ฉวีภักดิ์ และวริษฐา หนูปิ่น. 2548. การผลิตลูกหอยหวานเชิงพาณิชน์.
เอกสารวิชาการฉบับที่ 24/2548. ศูนย์วิจัยและพััฒนาประมงชายฝั่งจันทบุรี,
สำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง, กรมประมง, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
34 หน้า.
รัตนา
มั่นประสิทธิ์ และ ประวิม วุฒิสินธุ์. 2531. การศึกษาเบื้องต้นในการเพาะเลี้ยงหอยหวาน
(Babylonia areolata). เอกสารวิชาการฉบับที่ 8 ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยฝั่งตะวันออก,
กองประมงทะเล, กรมประมง. 14 หน้า.
Poomtong
, T. and J. Nhongmeesub.1996.Spawning, Larval and juvenile
Rearing of Babylon Snail (Babylonia areolata ,
L. ) under Laboratory conditions. Phuket Marine Biological
Center Special Publication no. 16 (1996) : 137-142. |