|
|
"ประวัติการเพาะและอนุบาลลูกปลากะพงขาวในประเทศไทย" |
|
|
|
|
พ.ศ. 2515 สถานีประมงทะเลสงขลา กรมประมง
โดย สวัสดิ์ วงศ์สมนึก และ สุจินต์ มณีวงศ์
ทดลองผสมเทียมปลากะพงขาว (สวัสดิ์และสุจินต์,
2515)
พ.ศ. 2516 สถานีประมงทะเลสงขลา กรมประมง
โดย สวัสดิ์ วงศ์สมนึก และ สุจินต์ มณีวงศ์
ทดลองเพาะพันธุ์ลูกปลากะพงขาวด้วยการผสมเทียม (สวัสดิ์และสุจินต์,
2517) โดยออกไปจับพ่อแม่ปลากะพงขาวบริเวณปากทะเลสาปสงขลา
(ภาพขวามือ)
ทำการรีดน้ำเชื้อตัวผู้เก็บไว้ในหลอดแก้วในกระติกน้ำแข็ง
และรีดไข่จากปลาตัวเมียได้ประมาณตัวละ 150-200 ซีซี
(250,000-400,000 ฟอง) จากนั้นนำไข่ผสมกับน้ำเชื้อที่เก็บไว้
ด้วยวิธีผสมเทียมแบบแห้ง (Dry fertilization) นำไข่ที่ผสมแล้วไปฟักในภาชนะรูปกรวยขนาด
35 ลิตร ฟักไข่ได้ถังละ 100,000 ฟอง เมื่อลูกปลาฟักออกจากไข่จึงนำไปอนุบาลในถังไฟเบอร์
โดยระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน 2516 ได้เพาะพันธุ์ลูกปลากะพงขาวรวม
11 ครั้ง |
 |
พ่อแม่ปลากะพงขาวจากทะเลสาปสงขลา
(ที่มา
: สวัสดิ์และสุจินต์, 2517)
|
|
|
ต่อมาได้ทดลองจนสามารถเลี้ยงให้พ่อแม่ปลาผสมพันธุ์วางไข่ในบ่อได้
หลังจาก พ.ศ. 2520 ก็สามารถผลิตลูกปลาได้ถึงขั้นธุรกิจอุตสาหกรรม
(Mass production) ทำให้มีลูกปลากะพงขาวเพียงพอสำหรับผู้ต้องการเลี้ยง
และมีเหลือส่งออกได้นับตั้งแต่ปี 2523 (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร,
2536)
การเพาะและอนุบาลอนุบาลลูกปลากะพงขาวในประเทศไทยก้าวหน้ามาก
เนื่องจากมีการพัฒนาการเพาะฟักกว่า 30 ปี ปัจจุบันมีทั้งฟาร์มของรัฐและฟาร์มเอกชน
โดยใช้วิธีเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ให้ผสมพันธุ์กันเองแบบธรรมชาติ
แล้วจึงรวบรวมไข่มาฟักและอนุบาล |
|
|
|
|
|
 |
บ่อดินเ้ลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลากะพงขาว |
|
ใชุ้์ปลากะพงขาวขนาดตัวละ 5 กิโลกรัม ขึ้นไป มาเลี้ยงเป็นพ่อแม่พันธุ์
ในบ่อคอนกรีตหรือบ่อดิน
ฉีดฮอร์โมนเพื่อกระตุ้นระบบสืบพันธุ์
พ่อแม่พันธุ์ปลากะพงขาวในบ่อมีการผสมพันธุ์วางไข่ โดยแม่พันธุ์ปลากะพงขาวจะปล่อยไข่และพ่อพันธุ์น้ำเชื้อออกมาผสมกัน
ประมาณ 20.00 น. ขึ้นไป
ตอนเช้าจะพบไข่ปลาลอยบนผิวน้ำ (ไข่ปลากะพงขาวเป็นไข่ลอย)
เก็บรวบรวมไข่ปลาโดยใช้ผ้าอวนตาละเอียดลากรวบรวม |
|
|
|
|
|
นำไข่ปลามาฟักในถังพลาสติกขนาดความจุ 200 ลิตร เป่าอากาศเบาๆ
ประมาณช่วงบ่ายๆ ไข่ปลาฟักออกเป็นตัว ลูกปลาแรกฟักจะลอยตัวนิ่งๆ
ตักรวบรวมลูกปลาแรกฟักมาอนุบาลในบ่อ
|
 |
ถัง
200 ลิตร ฟักไข่ปลา |
|
 |
ปลากะพงขาวอายุ
1 วัน |
|
|
|
|
การอนุบาลลูกปลากะพงขาวระยะไม่กินอาหาร
(อายุ 1-2 วันหลังฟักเป็นตัว) |
|
|
บ่อที่ใช้อนุบาล
ใช้ได้ทุกรูปแบบ ทุกขนาด ขึ้นกับการออกแบบของแต่ละฟาร์ม
สำหรับ ศพช. จันทบุรี ใช้อยู่ 3 แบบ คือ |
บ่อขนาด
700 ลิตร ทำจากปลอกซีเมนต์
จำนวน 20 บ่อ อนุบาลลูกปลาแรกฟักได้บ่อละ
40,000 ตัว
ถังไฟเบอร์ขนาด
2 ลบ.ม. จำนวน 10 ถัง อนุบาลลูกปลาแรกฟักได้ถังละ
100,000 ตัว
บ่อคอนกรีตขนาด
25 ลบ.ม. อนุบาลลูกปลาแรกฟักบ่อละ
500,000 ตัว
|
 |
ถังไฟเบอร์ขนาด
2 ลบ.ม. |
|
|
|
 |
บ่ออนุบาล
700 ลิตร |
|
|
|
 |
ลูกปลากะพงขาวอายุ
2 วัน |
|
น้ำที่ใช้อนุบาลเป็นน้ำความเค็มประมาณ 28-30 ppt ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยคลอรีน
ลูกปลากะพงขาวอายุ 1-2 วัน หลังฟักออกจากไข่ ปากของลูกปลายังไม่เปิด
และ Yolk มีขนาดใหญ่ จึงไม่ต้องให้อาหาร
|
|
|
|
การอนุบาลลูกปลากะพงขาวระยะกินโรติเฟอร์
(3-12 วันหลังฟักเป็นตัว) |
|
เมื่อลูกปลามีอายุเข้าวันที่ 3 ปากจะเปิด และ Yolk มีขนาดเล็กลง
เริ่มให้อาหารแก่ลูกปลากะพงขาว วันละ 3 มื้อ
อาหารเป็นแพลงก์ตอนสัตว์ชนิดหนึ่งชื่อ "โรติเฟอร์"
(ชมวิธีการขยายพันธุ์โรติเฟอร์ได้โดยคลิ๊กที่นี่)
ดูแลลูกปลาด้วยการ ถ่ายน้ำ ถูพื้นบ่อ ดูดตะกอน ทุกวัน
ๆ ละ 1 ครั้ง |
 |
ลูกปลากะพงขาวอายุ
8 วัน |
|
|
|
 |
โรติเฟอร์ที่รวบรวมได้ |
|
 |
ตักโรติเฟอร์ให้ลูกปลากิน |
|
|
|
|
การอนุบาลลูกปลากะพงขาวระยะกินโรติเฟอร์&อาร์ทีเมีย
(13-17 วันหลังฟักเป็นตัว) |
|
|
 |
ลูกปลากะพงขาวอายุ
14 วัน |
มีขนาดโตพอกินอาร์ทีเมียได้ |
|
 |
ฟักไข่อาร์ทีเมีย |
|
|
เมื่อลูกปลากะพงขาวมีอายุประมาณ 13 วัน จะปรับเปลี่ยนอาหาร
จาก โรติเฟอร์ ซึ่งมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับขนาดของลูกปลาที่ตัวโตขึ้น
เป็น อาร์ทีเมีย ซึ่งมีขนาดเหมาะกับลูกปลาและจัดเตรียมได้ง่ายกว่าโรติเฟอร์
(ภาพซ้ายมือ)
โดยอาร์ทีเมียใช้เวลาฟักออกเป็นตัวเพียง 24 ชั่วโมง
การเปลี่ยนอาหารใช้เวลาประมาณ 5 วัน โดยลดจำนวนโรติเฟอร์และเพิ่มจำนวนอาร์ทีเมีย
|
|
 |
เก็บเกี่ยวอาร์ทีเมียซึ่งฟักเป็นตัวแล้ว |
|
 |
ตักอาร์ทีเมียให้ลูกปลากิน |
|
สามารถสังเกตุความชอบอาหารของลูกปลากะพงขาวได้จาก จำนวนอาร์ที่เมียที่ให้จะถูกลูกปลากินจนหมดเร็วขึ้น
ส่วนจำนวนโรติเฟอร์จะเริ่มเหลือเนื่องจากลูกปลาเปลี่ยนไปกินอาร์ทีเมียแทนแล้ว
|
|
|
|
การอนุบาลลูกปลากะพงขาวระยะกินอาร์ทีเมีย
(18-30 วันหลังฟักเป็นตัว) |
|
|
 |
คัดขนาดลูกปลา
(ตัวเล็กหลุดลงในบ่อ) ส่วนตัวโตติดในขันพลาสติก
|
|
 |
นำลูกปลาตัวโตติดในขัน
ใส่กะละมังย้ายไปอนุบาลอีกบ่อ |
|
ลูกปลาระยะกินอาร์ทีเมียอย่างเดียว เริ่มมีขนาดตัวที่แตกต่างกัน
จึงจำเป็นต้องคัดขนาดลูกปลาออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ตัวเล็กกับตัวโต
คัดขนาดลูกปลาด้วยขันพลาสติก หรือแผ่นหนังเจาะรู โดยลูกปลาที่ตัวเล็กจะว่ายน้ำผ่านรูที่เจาะไว้ลงในบ่ออนุบาล
ส่วนลูกปลาที่ตัวโตไม่สามารถว่ายน้ำผ่านรู จึงติดอยู่ภายในขันพลาสติก
นำไปอนุบาลในบ่ออีกบ่อ (ภาพซ้ายมือ)
|
|
|
ลูกปลาระยะนี้เริ่มเปลี่ยนพฤติกรรม จากการลอยตัวกระจายในบ่อเป็นว่ายน้ำรวมกลุ่ม
บริเวณผนังบ่อและพื้นบ่อ (ภาพขวามือ) |
 |
ลูกปลากะพงขาวอายุ
18 วัน |
|
|
|
 |
ลูกปลาี้เริ่มเปลี่ยนสีจากดำเป็นน้ำตาล |
|
เมื่อลูกปลากะพงขาวมีอายุใกล้ 1 เดือน สีของลูกปลาีจะเริ่มเปลี่ยนแปลง
จากสีดำเป็นสีน้ำตาลอ่อน (ภาพซ้ายมือ) |
 |
อาร์ทีเมียตัวโตเต็มวัย |
|
อาหารที่ให้นอกจากจะใช้อาร์ทีเมียแรกฟักแล้ว
เมื่อลูกปลากะพงขาวอายุประมาณ 25 วัน สามารถให้อาร์ทีเมียตัวโตเต็มวัยแช่แข็งได้
(ก่อนให้ต้องนำมาละลายก่อน)
การดูแลลูกปลากะพงขาวยังใช้วิธีเหมือนระยะก่อนหน้านี้
คือ ถูพื้นบ่อ ดูดตะกอน เปลี่ยนถ่ายน้ำวันละประมาณ
70 เปอร์เซ็นต์
|
|
|
|
|
|
|
|
การอนุบาลลูกปลากะพงขาวระยะกินอาร์ทีเมียตัวโต&เนื้อปลาบด
(31-60 วันหลังฟักเป็นตัว) |
|
|
|
เมื่อลูกปลากะพงขาวมีอายุประมาณ 1 เดือน เริ่มปรับอาหารจากอาร์ทีเมียตัวโตเป็นเนื้อปลาบด
โดยระยะแรกจะผสมเนื้อปลาบดเล็กน้อยในอาร์ทีเมียตัวโต |
|
 |
ให้อาร์ทีเมียผสมเนื้อปลาบด |
|
จากนั้นจึงเริ่มปรับลดปริมาณอาร์ทีเมียตัวโตและเพิ่มเนื้อปลาบด
จนกระทั่งลูกปลากะพงขาวสามารถกินแต่เนื้อปลาบดเพียงอย่างเดียวได้
ซึ่งจำเป็นต้องฝึกให้ลูกปลากินเนื้อปลาบดเพื่อสะดวกต่อผู้ซื้อไปเลี้ยง
ลูกปลาที่ฝึกดีแล้วเพียงมีคนมายืนริมบ่อก็จะว่ายน้ำมารวมกลุ่มเพื่อรอกินอาหาร
(ภาพล่าง)
|
 |
ลูกปลากินอาร์ทีเมียผสมเนื้อปลาบด |
|
 |
ลูกปลาที่ฝึกดี
ว่ายรวมกลุ่มรออาหาร |
|
|
|
|
|
การดูแลลูกปลายังใช้วิธีคล้ายระยะก่อนหน้านี้ คือ ถูพื้นบ่อ
ดูดตะกอน เปลี่ยนถ่ายน้ำวันละประมาณ 70-100 เปอร์เซ็นต์
นอกจากนี้ยังต้องคัดขนาดปลา เพื่อแยกปลาที่มีขนาดใกล้เคียงกันมาเลี้ยงในบ่อเดียวกัน
(ภาพขวามือ)
|
 |
คัดลูกปลากะพงขาว
(อายุ 40 วัน) |
|
|
|
|
การบรรจุและจำหน่าย
(ขนาด 2.5 เซนติเมตร ตัวละ 2.50 บาท) |
|
|
 |
ลูกปลากะพงขาว
500 ตัว |
|
การจำหน่ายลูกปลากะพงขาว โดยนับลูกปลาใส่กะละมังจำนวน
500 ตัว แล้วนำลูกปลาบรรจุในถุงพลาสติกขนาด 16x24 นิ้ว
บรรจุลูกปลากะพงขาวขนาด 2.5 เซนติเมตร ในถุงพลาสติกขนาด
16x24 นิ้ว ถุงละ 500 ตัว สามารถลำเลียงได้นานกว่า 5
ชั่วโมง
|
|
|
ราคาจำหน่ายลูกปลากะพงขาวขนาด 2.5 เซนติเมตร ตัวละ 2.50
บาท และราคาจะปรับเพิ่มขึ้นตามขนาดความยาวลูกปลาที่เพิ่มขึ้น
|
 |
ปลากะพงขาวในถุงอัดออกซิเจน |
|
|
|
|
|
|
 |
ปลากะพงขาวในถุงอัดออกซิเจน |
|
การเพาะและอนุบาลลูกปลากะพงขาวในไทยมีมานานกว่า 30 ปีแล้ว
ปัจจุบันมีโรงเพาะฟักทั้งของรัฐและเอกชน
ขั้นตอนที่สำคัญการเพาะและอนุบาลลูกปลากะพงขาวอยู่ที่การทำพ่อแม่พันธุ์
รวมทั้งการดูแลและการเตรียมอาหารของลูกปลาในระยะ 2-3
สัปดาห์แรกหลังฟักออกจากไข่
|
|
|
เอกสาร
กรมประมง.
2548. ๗๙ กรมประมง. กรมประมง, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 54 หน้า.
สวัสดิ์
วงศ์สมนึก และสุจินต์ มณีวงศ์. 2515. การทดลองเบื้องต้นในการผสมเทียมปลากะพงขาว
(Lates calcarifer Bloch). รายงานประจำปี 2515.
สถานีประมงทะเลสงขลา, กรมประมง. หน้า 250-269.
สวัสดิ์
วงศ์สมนึก และสุจินต์ มณีวงศ์. 2517. การทดลองเพาะพันธุ์ปลากะพงขาว
(Lates calcarifer Bloch) โดยวิธีผสมเทียม. รายงานผลการปฏิบัติงานทางวิชาการประจำปี
2516-2517. สถานีประมงทะเลสงขลา, กรมประมง.
หน้า 62-83.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.
2536. แนวทางพัฒนาการผลิตและการตลาดปลากะพงขาว. เอกสารเศรษฐกิจการเกษตร
เลขที่ 11/2536 กลุ่มงานวิเคราะห์นโยบายและแผนพัฒนาปศุสัตว์และการประมง,
กองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 102
หน้า. |