|
เห็บปลา
อาร์กูลัส (Argulus
spp.) |
|
เห็บปลา
คืออะไร ?
เห็บปลา
สกุลอาร์กูลัส (Argulus
spp.) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
ไฟลัมอาร์โทรโปดา เป็นปรสิตภายนอก เห็บปลามีหลายชนิด
พบในปลาน้ำจืดและน้ำเค็ม เช่น ปลาตะเพียน ปลาไน ปลาทอง
ปลาแรด ปลาหมอ ปลากะพงขาว เป็นต้น รวมทั้งพบในกบและคางคกด้วย
(ภาพ : เห็บปลาได้จากปลาทองบ่อคอนกรีต)
|
|
อนุกรมวิธาน
Phylum
Arthropoda
Class
Crustacea
Subclass
Branchirura
Family
Argulidae (Leach)
Genus
Argulus (Muller)
(จำแนกตาม ประไพศิริ 2546)
|
|
|
 |
|
|
|
|
วงจรชีวิตของ
"เห็บปลา"
การผสมพันธุ์บางครั้งเกิดขึ้นขณะที่ตัวเมียเกาะอยู่บนเจ้าบ้าน
โดยตัวผู้มาเกาะด้านหลังและปล่อยน้ำเชื้อเข้าไป
ตัวเมียที่พร้อมวางไข่จะว่ายจากเจ้าบ้าน
แล้ววางไข่ติดรวมเป็นก้อนบนไม้น้ำ ก้อนหิน ผิวตู้กระจก ไข่มีสีเหลืองซีด
ลักษณะแบน เห็บปลาบางชนิดวางไข่ได้ถึง 400 ฟอง
ไข่ใช้เวลาประมาณ 15-55 วัน จึงฟักออกเป็นตัว โดยมีการพัฒนาเป็นระยะนอเพลียสตั้งแต่อยู่ในไข่
แรกฟักออกจากไข่มีขนาดประมาณ 0.75 มิลลิเมตร จากนั้นจะมีการลอกคราบหลายครั้ง
เวลาประมาณ 1 เดือน หลังฟักออกจากไข่ เห็บปลาก็เจริญพร้อมที่จะสืบพันธุ์ได้
|
|
|
ลักษณะอาการของโรค
เห็บปลามีขนาดที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
(ขนาด4-9 มิลลิเมตร) จึงง่ายที่จะสังเกตุเห็นเห็บปลาซึ่งมีลักษณะกลมคล้ายจานคว่ำ
มีสีเขียวอ่อน สีเขียวแกมเหลือง สีน้ำตาล เกาะหัว ครีบ ลำตัว
หากปลาติดเห็บปลามานาน อาจพบแผลตกเลือดเล็กๆ กระจายทั่วตัว
ปลาอาจมีการว่ายน้ำผิดปกติ ว่ายน้ำถูกับข้างบ่อหรือตู้ |
การป้องกัน
ย้ายปลาที่ตายและมีเห็บปลาเกาะออกจากบ่อ
กรองน้ำด้วยถุงกรองป้องกันเห็บปลาตัวโต
เตรียมบ่อโดยการตากแห้ง โรยปูนขาว |
การรักษา
กรณีที่มีปลาไม่มาก ให้ใช้ปากคีบดึงเห็บปลาออก จากนั้น ทายาเหลืองตรงแผลเพื่อป้องกันเชื้อราและแบคทีเรีย
(หยดน้ำเกลือเข้มข้นลงไป 1-2 หยดบนตัวเห็บปลา จะทำให้เห็บปลาหลุดง่ายขึ้น)
ด่างทับทิมเข้มข้น 100 ส่วนในล้านส่วน แช่นาน 30 นาที
ดิพเทอร์เร็ค 0.5 ส่วนในล้านส่วน แช่นาน 24 ชั่วโมง
เตรียมบ่อโดยการตากแห้ง โรยปูนขาว |
|
สงวนสิทธิ์ห้ามนำภาพถ่ายไปใช้
โดยไม่ได้รับอนุญาต
|
|
|
เอกสารอ้างอิง
กมลพร
ทองอุไร และ สุปราณี ชินบุตร. 2539. การป้องกันและกำจัดโรคปลา.
สถาบันวิจัยสุขภาพสัตว์น้ำ กรมประมง. 30 หน้า.
กรมประมง. 2536.
การเลี้ยงปลาน้ำกร่อย. งานเอกสารคำแนะนำ กองส่งเสริมการประมง.
กรมประมง. 43 หน้า.
บพิธ จารุพันธุ์
และนันทพร จารุพันธุ์. 2546. สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง II.
ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน.
697 หน้า
ปภาศิริ ศรีโสภาภรณ์.
2538. โรคและพยาธิของสัตว์น้ำ. ภาควิชาวาริชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา. 184 หน้า
ประไพสิริ สิริกาญจน.
2546. ความรู้เรื่องปรสิตของสัตว์น้ำ. ภาควิชาชีววิทยาประมง
คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน. 270 หน้า
มานพ ตั้งตรงไพโรจน์.
2544. การใช้ยาและสารเคมีในการควบคุมและรักษาโรคระบาดในปลาน้ำจืด.
เอกสารวิชาการฉบับที่ 3/2544 กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
67 หน้า
|
|
|