|
|
หน่วยวัดความปริมาณแพลงก์ตอนพืช
และอุปกรณ์ ? |
|
|
การนับความหนาแน่นของแพลงก์ตอน
ใช้หน่วย จำนวนเซลล์/ปริมาตรน้ำ
โดยทั่วไปที่ใช้กันมี 2 หน่วย ได้แก่
เซลล์/ลิตร
เป็นหน่วยที่นิยมใช้กับความหนาแน่นของแพลงก์ตอนในแหล่งน้ำธรรมชาติ
เซลล์/มิลลิลิตร
เป็นหน่วยที่นิยมใช้กับความหนาแน่นของแพลงก์ตอนในห้องปฏิบัติการ
หรือ ในโรงเพาะฟัก การใช้หน่วยปริมาตรเป็นมิลลิลิตร
เนื่องจากแพลงก์ตอนในห้องปฏิบัติการมีความหนาแน่นสูงมาก
สำหรับแพลงก์ตอนที่ไม่เป็นเซลล์เดี่ยว
เช่น รวมเป็นกลุ่ม หรือต่อเป็นสาย หน่วยนับ "เซลล์"
อาจนับเป็น "หน่วย"
หรือ "สาย"
แทนได้
อุปกรณ์ที่ใช้นับปริมาณแพลงก์ตอนมีหลายชนิด
ในการนับแพลงก์ตอนที่มีขนาดเล็ก ความหนาแน่นสูง นิยมใช้ Hemacytometer
(Heamacytometer) ซึ่งใช้สำหรับนับเม็ดเลือด |
|
|
|
รายละเอียดบน
Hemacytometer ? |
|
|
บนแผ่น
Hemacytometer นอกจากบอกชื่อบริษัท และแหล่งผลิตแล้ว
ยังมีรายละเอียดอื่นๆ อีก เช่น
บอกระดับความลึก ทั่วไปคือ 0.1 มิลลิเมตร (ลูกศรสีน้ำเงิน)
บอกการขีดตาราง เช่น Hemacytometer
ตัวขวามือ ตารางแบบ IMPROVED
NEUBAUER (ลูกศรสีน้ำเงิน)
Hemacytometer
ตัวขวามือ ทำร่องให้ Load ตัวอย่างน้ำได้ง่ายขึ้น
(ลูกศรสีแดง) |
 |
ตัวนี้ของอเมริกา
0.1 mm DEEP |
|
|
|
บอกระดับความลึก ของตัวนี้ก็ 0.1 มิลลิเมตร (ลูกศรสีน้ำเงิน)
บอกช่องเล็กที่สุดที่ตีตารางไว้ เช่น 1/400 ตารางมิลลิเมตร
(ลูกศรสีน้ำเงิน)
Hemacytometer จะมีตาราง 2 ตาราง (ลูกศรสีแดง)
มองดีๆ จะเห็นเส้นของตาราง
|
 |
ตัวนี้ของเยอรมัน
1/10 MM DEEP |
|
|
|
|
Cover
Glass ต้องใช้ที่ผลิตสำหรับ Hemacytometer ? |
|
|
ปกติ Hemacytometer จะให้ Cover Glass มาเพียง 1-2 แผ่นเท่านั้น
หากทำ Cover Glass ที่มีอยู่แตก ต้องซื้อ Cover Glass
ที่ผลิตมาสำหรับใช้กับ Hemacytometer เท่านั้น (ภาพขวามือ)
|
 |
Cover Glass ของ Haemacytometer |
|
|
|
ขั้นตอนการใช้งาน
Hemacytometer ? |
|
|
วาง Cover Glass บน Hemacytometer ซึ่งแผ่น Cover Glass
จะอยู่เหนือผิวตาราง 0.1 มิลลิเมตร
ใช้ไมโครปิเปตดูดน้ำตัวอย่างมา 9-10 ไมโครลิตร (ใช้ดรอปเปอร์ปลายแหลม
หรือ ปิเปตธรรมดาได้)
วางปลายปิเปตใกล้ขอบ Cover Glass จากนั้นค่อยๆ หยดน้ำตัวอย่างลงไป
ซึ่งน้ำจะไหลเข้าใต้ Cover Glass เองจนเต็มพื้นที่ตาราง
(หยดทั้ง 2 ตาราง)
หากหยดน้ำตัวอย่างมากเกินไป จะเลอะล้น Cover Glass แต่หากหยดน้อยเกินไปน้ำก็จะไหลเข้าไม่เต็มพื้นที่ตาราง
(ภาพขวามือ)
ต้องล้างและหยดใหม่
|
 |
แบบนี้หยดน้ำน้อยเกินไป
น้ำจึงไหลเข้าไม่เต็มตาราง |
|
|
|
จะนับปริมาณแพลงก์ตอนพืชได้อย่างไร
? |
|
|
เมื่อน้ำตัวอย่างไหลเข้าใต้ Cover Glass จนเต็มพื้นที่ตาราง
จะสามารถคำนวณปริมาตรน้ำได้จาก พื้นที่ตาราง
x ความลึก
เมื่อนับจำนวนแพลงก์ตอนในตารางภายใต้กล้องจุลทรรศน์
ก็จะได้จำนวนแพลงก์ตอนต่อปริมาตรน้ำของตารางนั้น
จากนั้นคำนวณเป็น จำนวนแพลงก์ตอนต่อปริมาตรน้ำ
1 มิลลิลิตร
|
|
|
|
หน้าตาของตารางภายใต้กล้องจุลทรรศน์ขยาย
40 เท่า |
|
|
 |
ภาพภายใต้กล้องจุลทรรศน์กำลังขยาย
40 เท่า |
|
(ภาพซ้ายมือ)
คือตารางบนผิว Hemacytometer ภายใต้กล้องจุลทรรศน์กำลังขยาย
40 เท่า
ช่อง A B C D มีความกว้างและยาวเท่ากับ 1 มม.
ดังนั้นปริมาตรน้ำของช่อง A B C หรือ D ช่องใดช่องหนึ่งเท่ากับ
ความกว้าง x
ความยาว x ความลึก
เท่ากับ 1 มม.x
1 มม.x 0.1 มม.
เท่ากับ 0.1
ซม.x 0.1 ซม.x 0.01 ซม.
เท่ากับ 0.0001
ลบ.ซม. หรือ 0.0001 มล.
|
เท่ากับ |
|
มล. |
|
|
ดังนั้นหากเลือกนับแพลงก์ตอนที่ช่อง
A B C และ D ความหนาแน่นของแพลงก์ตอนจะเท่ากับ |
ค่าเฉลี่ยแพลงก์ตอนในช่อง
A B C D |
|
เซลล์/มล. |
|
|
|
|
|
หน้าตาของตารางภายใต้กล้องจุลทรรศน์ขยาย
100 เท่า |
|
|
 |
ภาพภายใต้กล้องจุลทรรศน์กำลังขยาย
100 เท่า |
|
(ภาพซ้ายมือ)
คือตารางบนผิว Hemacytometer ภายใต้กล้องจุลทรรศน์กำลังขยาย
100 เท่า ตำแหน่งกลางตาราง
ช่อง 1 2 3 4 และ 5
มีความกว้างและยาวเท่ากับ 0.2 มม.
ดังนั้นปริมาตรน้ำของช่อง 1 2 3 4
หรือ 5 ช่องใดช่องหนึ่งเท่ากับ
ความกว้าง x
ความยาว x ความลึก
เท่ากับ 0.2
มม.x 0.2 มม.x 0.1 มม.
เท่ากับ 0.02
ซม.x 0.02 ซม.x 0.01 ซม.
เท่ากับ 0.000004
ลบ.ซม. หรือ 0.000004 มล.
|
เท่ากับ |
|
มล. |
|
|
ดังนั้นหากเลือกนับแพลงก์ตอนที่ช่อง
1 2 3 4 และ 5
ความหนาแน่นของแพลงก์ตอนจะเท่ากับ |
ค่าเฉลี่ยแพลงก์ตอน
5 ช่อง x 1/4 |
|
เซลล์/มล. |
|
|
|
|
|
มาลองทดสอบใช้งาน
Hemacytometer ? |
|
|
ตัวอย่างที่ 1
(ภาพขวามือ)
คือตารางบนผิว Hemacytometer ภายใต้กล้องจุลทรรศน์กำลังขยาย
100 เท่า ตำแหน่งช่อง A ที่หยด
Tetraselmis
เข้าไปแล้ว
คำถามตัวอย่างที่
1 ความหนาแน่น Tetraselmis
เท่ากับกี่เซลล์/มิลลิลิตร ? ลองนับและคำนวณก่อนดูเฉลย
เฉลย
จำนวน Tetraselmis
ช่อง A นับได้ 167 เซลล์
ดังนั้นความหนาแน่น Tetraselmis
เท่ากับ
|
|
|
|
|
 |
|
|
|
|
ตัวอย่างที่ 2
(ภาพขวามือ)
คือตารางบนผิว Hemacytometer ภายใต้กล้องจุลทรรศน์กำลังขยาย
100 เท่า ตำแหน่งช่อง 1 2 3 4 และ 5
ที่หยด Tetraselmis
เข้าไปแล้ว
คำถามตัวอย่างที่
2 ความหนาแน่น Tetraselmis
เท่ากับกี่เซลล์/มิลลิลิตร ? ลองนับและคำนวณก่อนดูเฉลย
เฉลย
จำนวน Tetraselmis
ช่อง 1 2 3 4 และ 5 นับได้รวม
30 เซลล์ เฉลี่ย 30/5 = 6.0 เซลล์
ดังนั้นความหนาแน่น Tetraselmis
เท่ากับ
|
|
|
|
|
 |
|
|
เส้นขอบช่องสี่เหลี่ยมที่นับจะมี
3 เส้น
|
|
|
 |
ตารางของ Hemacytometer ที่ผู้ผลิตแนะนำให้ใช้นับแพลงก์ตอนได้
เส้นขอบช่องสี่เหลี่ยมนั้น จะมี 3 เส้น (ภาพซ้ายมือ)
โดยเส้นตรงกลางเป็นเส้นของพื้นที่ตาราง ส่วนเส้นนอกและเส้นในมีไว้เพื่อให้ง่ายต่อการตัดสินใจว่า
เซลล์ของแพลงก์ตอนจะอยู่นอกหรือในพื้นที่ช่องนับ
(ลูกศรแดง)
|
|
|
|
แล้วจะเลือกนับช่องใหญ่ ( A
B C D ) หรือ ช่องเล็ก ( 1 2 3 4 5) ?
|
|
|
 |
การที่จะเลือกนับแพลงก์ตอนโดยใช้ช่องใหญ่ ( A B C
D ) หรือช่องเล็ก ( 1 2 3 4 5) มีข้อคำนึงดังนี้
1 การเลือกนับช่องใหญ่จะให้ค่าที่แม่นยำกว่าการเลือกนับที่ช่องเล็ก
เนื่องจากช่องใหญ่มีพื้นที่มากกว่า
2 แพลงก์ตอนบางชนิดที่เป็นเส้นสายหรือมีขนาดใหญ่มาก
จำเป็นจะต้องนับด้วยช่องใหญ่เนื่องจากหากนับด้วยช่องเล็กเส้นสายแพลงก์ตอนมักจะเลยขอบของช่องเล็ก
3 หากแพลงก์ตอนมีความหนาแน่นต่ำควรเลือกนับด้วยช่องใหญ่
( A B C D )
4 ในกรณีที่ตัวอย่างแพลงก์ตอนที่นับมีความหนาแน่นสูงมาก
การนับในช่องใหญ่อาจจะใช้เวลามากก็สามารถเลือกนับในช่องเล็กได้
|
|
|
|