วิสัยทัศน์ ค่านิยม พันธกิจ และการวิเคราะห์ SWOT
วิสัยทัศน์
" พัฒนางานวิจัยด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เพื่อเพิ่มผลผลิตที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลอย่างยั่งยืน "
ค่านิยม
" มุ่งมั่นพัฒนางานวิจัย ทำงานเป็นทีม ถ่ายทอดประสบการณ์จากรุ่นสู่รุ่น "
พันธกิจ
1. ศึกษาวิจัยและพัฒนาด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง รวมทั้งถ่ายทอดเทคโนโลยีจากงานวิจัย เพื่อให้เกิดนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์และเพิ่มมูลค่า
2. ศึกษาวิจัยและพัฒนาให้มีการเพิ่มผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งอย่างมีประสิทธิภาพ ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
3. ศึกษาวิจัยและพัฒนากระบวนการผลิตสัตว์น้ำชายฝั่งให้ได้คุณภาพและมาตรฐานระดับชาติและสากล
4. ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในภารกิจที่รับผิดชอบ
การวิเคราะห์ SWOT
จุดแข็ง Strength
1. บุคลากรมีความรู้ ความสามารถด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
2. มีพื้นที่ที่เหมาะสมรองรับต่อการพัฒนางานวิจัยด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
3. มีระบบการทำงานที่บูรณาการภายในองค์กรได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง
4. สัตว์น้ำชายฝั่งที่ได้จากการเพาะเลี้ยงมีมูลค่าทางเศรษฐกิจและสร้างรายได้ระดับต้นๆ ของประเทศ
5. มีกระบวนการตรวจสอบวัตถุดิบสัตว์น้ำชายฝั่งที่ส่งออกได้มาตรฐาน
6.บุคลากรมีทัศนคติที่ดีต่อองค์กร
จุดอ่อน Weaknesses
1. นโยบายด้านงานวิจัยขาดความชัดเจน ไม่ต่อเนื่อง และบางส่วนไม่ตอบสนองต่อความต้องการของเกษตรกร
2. ผู้วิจัยทำงานด้านงานบริการ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า มากกว่างานวิจัย
3. ขาดแรงจูงใจในการปฏิบัติงานทางด้านงานวิจัย
4. สิ่งก่อสร้าง เครื่องมืออุปกรณ์ ชำรุดและล้าสมัย ในการปฏิบัติงาน
5. ขาดแคลนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
6. บุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจในการนำกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องไปปฏิบัติ
7. ขาดการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมงานวิจัยด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
โอกาส Opportunity
1. ค่านิยมในการบริโภคสัตว์น้ำเพื่อสุขภาพมีมากขึ้น
2. การผลิตสัตว์น้ำจากการเพาะเลี้ยงมีความสำคัญมากขึ้นเพื่อทดแทนการจับจากธรรมชาติ
3. สินค้าสัตว์น้ำเป็นที่ต้องการของตลาดโลก
4. ภูมิประเทศและภูมิอากาศเหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
5. มีเทคโนโลยีสารสนเทศสามารภเข้าถึงแหล่งความรู้ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งได้สะดวก
6. มีระบบขนส่งและการกระจายสินค้าที่มีประสิทธิภาพและสามารถพัฒนาให้ดีขึ้นได้ในอนาคต
7. มีสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งตลอดห่วงโซ่อุปทาน
8. รัฐบาลมีนโยบายให้เพ่ิ่มประสิทธิภาพผลผลิตสัตว์น้ำของประเทศ
อุปสรรค Threat
1. กฎระเบียบบางประการไม่เอื้อต่อการปฏิบัติงาน
2. งานที่ได้รับมอบหมายและงานสนับสนุนมากกว่างานภารกิจหลัก
3. การเกิดภัยธรรมชาติจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกมีความรุนแรงมากขึ้น และไม่สามารถคาการณ์ล่วงหน้าได้
4. การขยายตัวของชุมชนและอุตสาหกรรมมีผลกระทบต่อพื้นที่ และคุณภาพแหล่งน้ำที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
5. มีมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีเพิ่มขึ้น
6. การเกิดโรคอุบัติใหม่ที่สร้างความเสียหายต่ออุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
7. เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำบางส่วนขาดความเข้าใจและไม่ยอมรับกฎระเบียบ
แก้ไขล่าสุด (วันพุธที่ 12 เมษายน 2017 เวลา 08:53 น.)