การศึกษาประสิทธิภาพของต่อมใต้สมองและฮอร์โมนสังเคราะห์ในการเพาะพันธุ์ปลาสวาย 


นางสาวนิภา กาลศรี
นางพิมพา อุดมรัตน์
นายชัยศิริ ศิริกุล
ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดนครสวรรค์ ต.แควใหญ่ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ ๖๐๐๐๐

  บทคัดย่อ  

                         การศึกษาประสิทธิภาพการใช้ต่อมใต้สมองและฮอร์โมนสังเคราะห์ buserelin acetate (BUS) ในการเพาะพันธุ์ปลาสวาย ได้ทำการทดลอง ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดนครสวรรค์ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงธันวาคม 2545 โดยชุดการทดลองที่ใช้ต่อมใต้สมองปลาสวายแบ่งฉีด 2 ครั้ง  อัตรา 2 และ 4 โดส ระยะห่างในการฉีด 6 ชั่วโมง ชุดการทดลองที่ใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ BUS แบ่งฉีด 2 ครั้ง อัตรา 5 และ 10 ไมโครกรัม/น้ำหนักปลา 1 กิโลกรัม ผสม domperidone 10 มิลลิกรัม/น้ำหนักปลา 1 กิโลกรัม  ระยะห่างในการฉีด 6 ชั่วโมง ชุดการทดลองที่ใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ BUS ฉีดครั้งเดียว อัตรา 15 ไมโครกรัม/น้ำหนักปลา 1 กิโลกรัม ผสม domperidone 10 มิลลิกรัม/น้ำหนักปลา 1 กิโลกรัม

                         ผลการทดลองพบว่าแม่ปลาทั้ง 3 ชุดการทดลองสามารถรีดไข่ผสมเทียมได้ทุกตัว แต่ระยะเวลาตกไข่ต่างกัน ชุดการทดลองที่ 3 มีระยะเวลาตกไข่สั้นที่สุด คือ 12-13 ชั่วโมง ในขณะที่ชุดการทดลองที่ 1 และ 2 ใช้เวลา 15-16 ชั่วโมง อัตราการปฏิสนธิ 74.72±14.33, 71.80±5.23 และ 88.17±5.17 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และอัตราการฟัก 74.64±14.87, 71.48±9.78 และ 91.09±0.89 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05)  เมื่อนำลูกปลาสวายวัยอ่อนอายุ 3 วัน ทั้ง 3 ชุดการทดลองมาอนุบาลในตู้กระจกอัตราความหนาแน่น 2,000 ตัว/ลูกบาศก์เมตร โดยให้ไรแดงและอาหารปลาดุกเล็กเปอร์เซ็นต์โปรตีน 32 เปอร์เซ็นต์ อนุบาลจนอายุครบ 30 วัน พบว่าลูกปลามีความยาวตัวเฉลี่ยและน้ำหนักตัวเฉลี่ย 31.95±2.17, 30.78±3.38 และ 30.71±3.02 มิลลิเมตร และ 0.23±0.04, 0.20±0.07 และ 0.20±0.05 กรัม ตามลำดับ ส่วนอัตรารอด 59.41±19.01, 62.71±11.76 และ 73.72±14.00 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ พบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) การใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ buserelin acetate ฉีดครั้งเดียวทำให้ใช้ระยะเวลาตกไข่สั้น ทำให้ประหยัดเวลาและพ่อแม่พันธุ์ไม่บอบช้ำ จึงเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการเพาะพันธุ์ปลาสวายมากที่สุด

 คำสำคัญ :ปลาสวาย  ฮอร์โมนสังเคราะห์  ต่อมใต้สมอง


  EFFECT OF PITUITARY GLAND EXTRACT AND BUSERELIN ACETATE ON BREEDING OF STRIPED   CATFISH, Pangasianodon hypophthalmus Sauvage, 1878

Nipa Galsri
Pimpa Udomrath
Chaisiri Sirikul
Nakhonsawan Inland Fisheries Research and Development Center. Quare-yai, Muang. Nakhonsawan 60000

  ABSTRACT  

               Study on the effect of pituitary gland  extract and buserelin acetate (LHRHa)  on breeding of Striped Catfish, Pangasianodon hypophthalmus Sauvage,1878 was held at Nakhon Sawan Inland Fisheries Development Center during February to December 2002. The aims of this research were to compare firstly, spawned, secondly, fertilized, and thirdly, survival rates of Striped Catfish fry. These rates were induced from different sources and periods of hormone injections. The first treatment consisted of an initial injection of two doses of a hormone from the pituitary gland, followed six hours later by a second injection of four doses. The second treatment consisted of a first injection of five micrograms of the hormone LHRHa to one kilogram of broodstocks combined with ten milligrams of domperidone followed six hours later by ten micrograms of LHRHa to one kilograms of broodstocks combined with ten milligrams of domperidone. The third treatment consisted  of a first injection of fifteen micrograms of LHRHa  to one kilogram of broodstocks combined with ten milligrams of domperidone.

                   The results of this study showed that with each treatment, the broodstocks could be spawned artificially. However, the third treatment of one injection of LHRHa resulted in the shortest period of spawning after injection, which was 12-13 hours, while the other two treatments were both 15-16 hours. The rates of fertilization and hatching of each treatment were 74.72±14.33, 71.80±5.23 and 88.17±5.17 %; 74.64±4.87, 71.48±9.78 and 91.09±0.89%, respectively, The statistics showed that were not significant. When rearing 3 day old Striped Catfish fry at a density of 2,000 fry per ton by using living water frea (Moina sp.) and 32% protein pellet food for 30 days, the survival rates were 59.41±19.01, 62.71±11.76 and 73.72±14.00%, respectively, rates which were not significant.The results indicate that one injection of fifteen micrograms of the hormone LHRHa to one kilogram of broodstocks combined with ten milligrams domperidone is the best treatment for artificial breeding of Striped Catfish, because firstly, it produced the shortest period of spawning after injection and secondly, there was the least disturbance of the broodstocks.

            

Key words :  Striped Catfish, buserelin acetate (LHRHa), pituitary gland


กลับหน้าแรก