ประวัติสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดสตูล
- รายละเอียด
- ฮิต: 11729
สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดสตูล ตั้งอยู่ในเขตตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล
โดยห่างจากอำเภอละงู ประมาณ2 กิโลเมตร และห่างจากตัวจังหวัดสตูลประมาณ 50 กิโลเมตร
พื้นที่ของสถานีฯ มีเนื้อที่รวมทั้งสิ้น 33 ไร่
31 ตารางวาโดยมีคลองละงูไหลผ่านกลางแบ่งพื้นที่ของสถานีฯ ออกเป็น 2 แปลง คือ
แปลงที่1 เนื้อที่ 17 ไร่ ตั้งอยู่ในเขต หมู่ที่ 7 ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ซึ่งเป็นที่ปลูกสร้างอาคาร ต่าง ๆเช่น อาคารที่ทำการ โรงเพาะฟัก บ่อคอนกรีต บ้านพัก
ข้าราชการและคนงาน เป็นต้น
แปลงที่ 2 เนื้อที่ 16 ไร่ 31 ตารางวา ตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่ 13 ตำบลละงู อำเภอละงู
จังหวัดสตูล ซึ่งเป็นที่ก่อสร้าง ของโครงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เพื่ออนุรักษ์พันธุ์เต่าบก
และเต่าน้ำจืดของไทย
กรมประมงได้รับงบประมาณในการจัดตั้งสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดสตูล
เมื่อปี 2526 โดยมีเหตุผลในการจัดตั้ง ในขณะนั้นคือ เพื่อเป็นการอนุรักษ์พันธุ์เต่ากระอาน
ซึ่งเป็นสัตว์หายากและใกล้สูญพันธุ์และพบหลงเหลืออยู่ในคลองละงู จังหวัดสตูล
เพียงแห่งเดียว โดยใช้ชื่อหน่วยงานว่า สถานีอนุรักษ์พันธุ์เต่ากระอานและต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อ
ของหน่วยงานหลายครั้ง เช่น ปี 2527 ใช้ชื่อว่า สถานีอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำจืดสตูล และต่อมานอก
จากจะอนุรักษ์พันธุ์ เต่ากระอานแล้ว ยังมีการรวบรวมพันธุ์เต่าน้ำจืดชนิดอื่น ๆ เช่น เต่าลายตีนเป็ด
เต่าหวาย เพื่อการอนุรักษ์และศึกษา การเพาะพันธุ์ ต่อมาปี 2533 ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์พัฒนา
ประมงน้ำจืดสตูล เนื่องจากมีการผลิตพันธุ์ปลาน้ำจืดชนิด ต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ต่อมาปี 2540 กรมประมง
ได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างและได้ย้ายศูนย์พัฒนาประมงน้ำจืดไปที่ศูนย์วิจัย และพัฒนาน้ำจืดตรัง
จึงเปลี่ยนชื่อเป็นสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดสตูล ซึ่งมีการผลิตพันธุ์กุ้งก้ามกรามเพิ่มเติม ขึ้น
กับศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดตรัง ปี พ.ศ. ได้รับงบประมาณในการก่อสร้างสถานที่
ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เพื่อ เพื่ออนุรักษ์พันธุ์เต่าน้ำจืดและเต่าบกของไทยให้คงอยู่ตลอดไป
และให้ประชาชนทั่วไปได้ทราบถึงประวัติความเป็น มาตลอดจนประชาสัมพันธุ์ให้เป็นแหล่ง
ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของจังหวัดสตูลอีกแห่งหนึ่ง