การเลี้ยงปลานิลในกระชังจังหวัดสตูล
- รายละเอียด
- ฮิต: 23729
การเลี้ยงปลานิลในกระชังจังหวัดสตูล ปี พ.ศ. 2554
เกวลิน หนูฤทธิ์
ปลานิล จัดเป็นสัตว์น้ำจืดเศรษฐกิจที่สำคัญ รองจากกุ้งขาว ซึ่งขณะนี้ภาครัฐบาลกำลังส่งเสริมให้เกษตรกรไทยผลิตปลานิลให้ได้มาตรฐานตามความต้องการของตลาดโลก เพื่อพัฒนาปลานิลให้มีศักยภาพในการส่งออก อีกทั้งเป็นการเพิ่มรายได้แก่ประขาชนในพื้นที่ตามโครงการพัฒนาอาชีพด้านการประมง ภายใต้แผนการพัฒนาพื้นที่พิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภายใต้ จังหวัดสตูลนับเป็นจังหวัดหนึ่งที่ได้รับการส่งเสริมดังกล่าว
จากการสำรวจพื้นที่เลี้ยงปลานิลในกระชังเชิงพาณิชย์ของเกษตรกรจังหวัดสตูล ตำบลละงู อำเภอละงู เลี้ยงในลำคลองละงู (เป็นน้ำที่ไหลมาจากเทือกเขาจังหวัดพัทลุง) โดยมีจุดเลี้ยงใหญ่ๆ อยู่ 3 จุด คือ 1)บ้านหัวทาง หมู่ที่ 6 2)บ้านในใส หมู่ที่ 15 และ3)บ้านวังช่อนชัย หมู่ที่ 17 มีเกษตรกรเลี้ยงรวม 50 ราย จำนวน 70-80 กระชัง ชนิดสัตว์น้ำที่เลี้ยงส่วนใหญ่เป็นปลานิลดำ รองลงมาเป็นปลาทับทิม
ลูกพันธุ์ปลานิลดำส่วนใหญ่เกษตรกรนิยมซื้อจากฟาร์มปลาน้ำจืดอำเภอกาหลง(ฟาร์มเอกชน) จังหวัดสตูล ซึ่งในสตูลมีฟาร์มเพาะพันธุ์ปลานิลเพียง 1 ฟาร์ม ไม่เพียงพอกับความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่ จำเป็นต้องจัดหาลูกพันธุ์จากจังหวัดใกล้เคียง นอกจากนี้เกษตรกรบางรายแก้ไขโดยการซื้อลูกพันธุ์ขนาดเล็กจากฟาร์มเอกชนมาอนุบาลให้ได้ขนาดความยาว 3-4 นิ้ว ก่อน แล้วนำมาเลี้ยงในกระชังของตนเอง และมีเหลือก็นำมาจำหน่ายแก่เกษตรกรรายอื่นๆบริเวณใกล้เคียง
ลักษณะและวิธีการเลี้ยงปลานิลในกระชัง ขนาดกระชังที่เกษตรกรเลี้ยงมีหลายขนาด ได้แก่ 3x3x2 ลบ.ม., 3x3x2.5 ลบ.ม. และขนาด 5x5x2 ลบ.ม. ปล่อยลูกพันธุ์ขนาด 3-4 นิ้ว อัตราการปล่อย ลูกพันธุ์ 28 ตัว/ลบ.ม. ราคาตัวละ 3.50-4.00 บาท ใช้ระยะเวลาการเลี้ยง 5-6 เดือน มีอัตรารอด 75-80% อาหารที่ให้เป็นอาหารปลาดุกชนิดลอยน้ำ พิคฟีค เบอร์ 1 มีโปรตีน 32% ให้ในช่วง 15 วันแรก หลังจากนั้นให้อาหารเบอร์ 2 มีโปรตีน 30% เป็นเวลา 60 วัน และอาหารเบอร์ 3 มีโปรตีน 25% เป็นเวลา 105 วัน
การจัดการระหว่างเลี้ยง มีการตรวจวัดคุณภาพน้ำในกระชัง โดยเจ้าหน้าที่ประมงน้ำจืดจังหวัดสตูลมาตรวจสัปดาห์ละ 1 ครั้ง นอกจากนี้เกษตรกรยังมีวิธีป้องกันโรคสัตว์น้ำ เช่น ทำความสะอาดกระชังเป็นระยะๆ ตลอดการเลี้ยง เลี้ยงปลาในอัตราความหนาแน่นที่เหมาะสม ให้อาหารพอดีกับความต้องการ เมื่อปลาตายไม่ทิ้งลงลำคลอง มีการสังเกตสุขภาพสัตว์น้ำ สีน้ำในกระชัง สัตว์น้ำที่ตายทั้งในและนอกกระชัง
วิธีการจับผลผลิตสัตว์น้ำ ต้องใช้คนในพื้นที่ 4-5 คน โดยไม้ไผ่ยาว 4-5 เมตร ความกว้างกระชัง 3 เมตร สอดเข้าไปด้านข้างของกระชังด้านใดด้านหนึ่ง แล้วทำการลากไม้ไผ่มายังอีกด้านหนึ่ง เพื่อให้ปลาอยู่รวมกัน สะดวกในการจับ จากนั้นใช้สวิงตักปลาใส่ในตะกร้า ทำการขนส่งทางเรือ จากนั้นจึงทำการชั่งน้ำหนัก(การชั่งน้ำหนักปลาของพ่อค้า เมื่อชั่งปลาได้น้ำหนัก 100 กก. เกษตรกรจะโดนหักค่าน้ำ 3 กก.) ลำเลียงปลาขึ้นรถปิคอัพ บรรจุลงในถังไฟเบอร์ขนาด 500 ลิตร พร้อมน้ำ เปิดระบบลม ลักษณะการจำหน่ายปลาเป็นแบบปลามีชีวิต ส่งต่อพ่อค้าส่งและพ่อค้าปลีกในตลาดสด
ต้นทุนการเลี้ยงปลานิลในกระชัง ขนาดกระชังมีขนาด 3x3x2 ลบ.ม. มีอัตราการปล่อยลูกพันธุ์ 500ตัว/กระชัง ขนาดลูกปลาที่ปล่อย 3-4 นิ้ว มีต้นทุนการผลิตปลานิล 17,465.25 บาท/กระชัง จำแนกเป็น 1)ต้นทุนผันแปรเฉลี่ย 16,198.65 บาท/กระชัง/รุ่น คิดเป็นร้อยละ 92.75 ของต้นทุนทั้งหมด ซึ่งเป็นต้นทุนค่าอาหาร 12,250 บาท/กระชัง/รุ่น คิดเป็นร้อยละ 70.14 ต้นทุนค่าลูกพันธุ์ปลา 2,000 บาท/กระชัง/รุ่น คิดเป็นร้อยละ 11.45 และ2)ต้นทุนคงที่เฉลี่ย 1,266.59 บาท/กระชัง/รุ่น คิดเป็นร้อยละ 7.25 ของต้นทุนทั้งหมด ต้นทุนทั้งหมดเฉลี่ย 60.22 บาท/กิโลกรัม
ผลตอบแทนจากการเลี้ยงปลานิล พบว่า ผลผลิตเฉลี่ย 290 กิโลกรัม/กระชัง/รุ่น ขนาดผลผลิต 650-850 กรัม/ตัว ราคาที่เกษตรกรขายได้ 68.50 บาท/กิโลกรัม ดังนั้นเกษตรกรมีรายได้ทั้งหมด 19,865 บาท/กระชัง มีกำไรสุทธิ 2,399.75 บาท/กระชัง หรือกำไร 8.28 บาท/กิโลกรัม มีอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน คิดเป็นร้อยละ 13.74 ลักษณะการจำหน่ายผลผลิตของเกษตรกรจะมีพ่อค้าในพื้นที่มารับซื้อหน้ากระชังนำไปขายส่งและขายปลีกในตลาดสด พ่อค้าที่มารับซื้อหน้ากระชังในพื้นที่มีจำนวนเพียง 3 ราย ประกอบกับตลาดสดปลานิลในจังหวัดสตูลมีเพียง 6 แห่ง ถือว่าค่อนข้างน้อย ส่งผลให้พ่อค้าที่มารับซื้อผลผลิตหน้ากระชังต้องเรียงลำดับในการเข้ามาจับผลผลิต
ปัญหาอุปสรรคของเกษตรกรที่พบ คือ ลูกพันธุ์ปลาไม่เพียงพอกับความต้องการของเกษตรกร อาหารเม็ดสำเร็จรูปมีราคาสูง ซึ่งจัดเป็นต้นทุนการเลี้ยงสูงถึงร้อยละ 70 ของต้นทุนทั้งหมด ช่วงฤดูฝนในเดือนสิงหาคม น้ำค่อนข้างขุ่น พบว่าปลาประสบกับโรคปลิงใส ส่งผลให้ปลาไม่ค่อยกินอาหาร ว่ายน้ำทุรนทุราย ลอยตัวตามผิวน้ำ มีแผลขนาดเล็กเท่าปลายเข็มหมุดตามลำตัว เกษตรกรแก้ไขโดยการใช้ฟอร์มาลิน(Formalin) 25-40 ซีซีต่อน้ำ 1,000 ลิตร ซึ่งจัดเป็นวิธีที่เหมาะสมขั้นต้น นอกจากนี้ในช่วงฤดูแล้งในเดือนกุมภาพันธ์ มักพบว่าปลาเป็นโรคตกเลือดตามซอกเกล็ด เกล็ดปลาหลุด
ข้อเสนอแนะ ได้แก่ เกษตรกรควรมีการวางแผนสั่งลูกพันธุ์ปลาล่วงหน้า คือ เมื่อปลาโตขนาดอีกประมาณ 2 เดือน ก่อนจับปลาขาย ต้องรีบสั่งปลาในรอบต่อไป เกษตรกรควรมีการรวมกลุ่มกันซื้ออาหารจากร้านค้าในปริมาณครั้งละหลายกระสอบ เพื่อขอส่วนลดราคา สำหรับช่วงฤดูฝนให้เกษตรกรลดอัตราการปล่อยลูกปลาลง เพื่อไม่ให้ปลาเกิดความเครียด เพราะในช่วงนี้น้ำจะขุ่นและมีกระแสน้ำที่เชี่ยว การกินอาหารของปลาลดลง
แหล่งที่มา: - จากการสำรวจเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลในกระชัง อ.ละงู จังหวัดสตูล ได้รับความร่วมมือจาก
เจ้าหน้าที่สำนักงานประมงจังหวัดสตูล
- ข้อมูลจากโครงการยกระดับมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงปลานิลเพื่อการส่งออก (ได้รับความ
อนุเคราะห์ข้อมูลจากสำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด)
Приподнявшись, он настороженно огляделся.
Если только начнется дождь, он хлынет как из ведра.
Они "былины илья муромец и соловей разбойник скачать" могли лишь тешить себя надеждой, что, прежде чем это произойдет, они пристанут к твердой земле или, что еще вероятнее, их подберет какое-нибудь судно.