Notice

ความเป็นมา กองพัฒนาระบบการรับรองมาตรฐานสินค้าประมงและหลักฐานเพื่อการสืบค้น (กมป.)

กรมประมง มุ่งมั่นส่งเสริมกระบวนการผลิตสัตว์น้ำคุณภาพ  และพัฒนาศักยภาพบริการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและศักยภาพการผลิตสัตว์น้ำให้ได้มาตรฐาน โดยสนับสนุนให้ก่อตั้งศูนย์พัฒนาระบบและมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ตามคำสั่งกรมประมง เรื่อง การจังตั้งศูนย์พัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หรือกองพัฒนาระบบมาตรฐานสินค้าประมง  และปัจจุบันคือ กองพัฒนาระบบการรับรองมาตรฐานสินค้าประมงและหลักฐานเพื่อการสืบค้น 

View เอกสาร "คำสั่งกรมประมงจัดตั้ง ศรฟ."

View เอกสาร "คำสั่งกรมประมงจัดตั้ง กองพัฒนาระบบมาตรฐานสินค้าประมง (กมป.)"

View เอกสาร "คำสั่งกรมประมงจัดตั้ง กองพัฒนาระบบการรับรองมาตรฐานสินค้าประมงและหลักฐานเพื่อการสืบค้น (กมป.)"

นโยบายคุณภาพ

“หน่วยรับรองกองพัฒนาระบบการรับรองมาตรฐานสินค้าประมงและหลักฐานเพื่อการสืบค้น ให้บริการรับรองระบบการผลิตและผลิตผลสัตว์น้ำตามมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ GAP และ CoC และระบบการผลิตเกษตรอินทรีย์ ด้วยความเป็นกลาง โปร่งใส และเป็นธรรม โดยบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ และมีการพัฒนาปรับปรุงระบบการรับรองอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สินค้าประมงมีคุณภาพ ความปลอดภัย และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล"

        เป้าหมายคุณภาพ

กมป. ได้กำหนดเป้าหมายคุณภาพตามกรอบแนวนโยบายคุณภาพในการ รวมถึงมีการปรับเป้าหมายเพิ่มเติมสำหรับ การรักษาระบบคุณภาพของหน่วยรับรองให้ได้รับการคงไว้ซึ่งการรับรองระบบงาน ตามขอบข่ายที่ได้รับการรับรองจาก มกอช และพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อนำมาช่วยในกระบวนการรับรอง  View เอกสารเพิ่มเติม "เป้าหมายคุณภาพ"

2.วัตถุประสงค์

เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพสินค้าสัตว์น้ำภายในประเทศ และเพิ่มขีดความสามารถที่จะแข่งขันในตลาดต่างประเทศเพื่อให้สามารถบรรลุ นโยบายคุณภาพที่กำหนดไว้ข้างต้น จึงมีการกำหนดวัตถุประสงค์คูรภาพของหน่วยรับรอง ดังนี้

  1. บริหารและดำเนินการให้สอดคล้องกับข้อกำหนดตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17065 และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และได้รับการรับรองระบบงาน (Accredited) ตามระบบการรับรองระบบงานเพื่อให้เกิดการยอมรับในขีดความสามารถ
  2. ตรวจประเมินและให้การรับรองแก่ผู้รับบริการด้วยความถูกต้อง เป็นกลาง  โปร่งใส และเป็นธรรม
  3. ตรวจตรวจติดตามผลผู้ได้รับการรับรองอย่างสม่ำเสมอ
  4. รักษาความลับของข้อมูลและเอกสารของผู้รับบริการทุกรายอย่างเคร่งครัด
  5. นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่
  6. ฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรให้มีขีดความสามารถเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

3. ภารกิจของ หน่วยรับรอง กมป. ตามระบบมาตรฐาน ISO/IEC 17065 เมื่อสถาบันฯ/ศูนย์ฯ/สถานีฯ/สำนักงานประมงในพื้นที่ จัดส่งเอกสารคำขอการรับรองมายัง กมป. มีดังนี้

  1. รับ ตรวจสอบ และพิจารณาทวนสอบคำขอรับการรับรอง เพื่อจัดส่งต่อหน่วยตรวจประเมิน
  2. คณะผู้ตรวจประเมิน ในหน่วยตรวจประเมิน พิจารณาคำขอ และเสนอแผนการตรวจประเมิน ต่อฝ่ายตรวจประเมิน หน่วยรับรอง เพื่อแนุมัติแผนการตรวจประเมิน
  3. คณะผู้ตรวจประเมิน ดำเนินการตรวจประเมิน ณ สถานประกอบการ ตามคู่มือขั้นตแนการปฏิบัติงานตรวจประเมินของหน่วยรับรอง พร้อมเก็บคัวอย่างสัตว์น้ำ ปัจจัย น้ำ และน้ำทิ้ง เพื่อตรวจวิเคราะห์ ณ สถานประกอบการ หรือวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการทดสอบ ทั้งนี้ การเก็บตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์เป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐาน และความเสี่ยงที่คณะผู้ตรวจประเมินพิจารณา 
  4. คณะผู้ตรวจประเมิน แจ่้งผลเบื้องต้น พร้อมแจ้งข้อบกพร่องต้องแก้ไข (ถ้ามี) และให้ผู้ประกอบการเสนอแนวทางแก้ไข
  5. คณะผู้ตรวจประเมินจัดรายงานฉบับสมบูรณ์ เมื่อรับผลการทดสอบทางห้องปฏิบัติ รวมถึงดำเนินการตรวจปิดการแก้ไขข้อบกพร่อง (ถ้ามี) และจัดส่งรายงานผลการตรวจประเมิน )บับสมบูรณืต่อ  กมป.
  6. ฝ่ายตรวจประเมิน หน่วยรับรแอง กมป. ตรวจสอบเอกสาร และเสนอผู้ทวนสอบรายงานผลการตรวจประเมิน สรุปรายงานเสนอคณะทบทวนการรับรอง
  7. จัดการประชุมคณะทบทวนการรับรองเพื่อพืจารณาการรับรอง
  8. ฝ่ายออกใบรับรอง หน่วยรับรอง ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลสถานประกอบการและออกใบรับรอง มีอายุการรับรอง 3 ปี ในกรณีที่คณะทบทวนพิจารณาอนุมัติ พร้อมปรัปบปรุงทะเทียนรายชื่อผู้ได้รับการรับรองเผยแพร่ต่อสาธารณะ 
  9. จัดให้มีการสุ่มตรวจติดตามฟาร์มที่ผ่านการรับรองแล้ว
  10. ฝ่ายออกใบรับรอง หน่วยรับรอง ตรวจสอบและปรัปบปรุงทะเบียนผู้ได้รับการรับรองและสถานภาพการรับรองให้เป็นปัจจุบัน รวมถึงผู้ยกเลิกการรับรอง ผู้ถูกพักใช้ หรือเพิกถอนการรับรอง
  11. ดำเนินการเพื่อป้แงกันผลกระทบต่อความเป็นกลางของหน่วยรับรอง ในการให้การรับรอง รวมถึงประเมินประสืทธิภาพการป้องกัน เพื่อปรัปบปรุง หรือพัฒนาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  12. แต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญ ผู้ประเมินสมรรถนะ และ ผู้ตรวจติดตามคุณภาพภายใน
  13. จัดให้มีการตรวจติดตามคุณภาพภายใน ตามระยะเวลาที่กำหนด
  14. รับเรื่องและดำเนินการกรณีมีร้องเรียน อุทธรณ์ ส่งให้คณะกรรมการชุดต่างๆ พิจารณา
  15. ควบคุมการรักษาความลับและการแสดงความไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย
  16. จัดทำฐานข้อมูลต่าง ๆ
  17. จัดทำเอกสารเผยแพร่ในเว็บไซด์ของกองพัฒนาระบบมาตรฐานสินค้าประมง (กมป.)
  18. ให้ความรู้แก่เกษตรกร/ผู้ประกอบ และผู้สนใจทัวไป เรื่องระบบการผลิต และผลิตผล ตามมาตรฐานCoC /GAP การผลิต ผลิตผล  และมาตรฐานระบบเกษตรอินทรีย์
  19. อบรมเจ้าหน้าที่ของกรมประมงเพื่อให้มีคุณสมบัติตามที่กำหนด และให้มีเจ้าหน้าที่เพียงพอต่อการตรวจรับรอง
  20. ปรับปรุงพัฒนาระบบการรับรอง
  21. เข้าร่วมและกำหนดมาตรฐานการผลิตสัตว์น้ำของประเทศ
  22. ติดตาม ประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ความก้าวหน้าและความเคลื่อนไหวของมาตรฐานสินค้าประมง และการรับรองมาตรฐานมาตรฐานสินค้าประมง

4. ใบรับรองทีออกโดย กองพัฒนาระบบมาตรฐานสินค้าประมง (กมป.)

ใบรับรองที่ออกโดย กมป. เป็นใบรับรองมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ผ่านกระบวนการตรวจรับรองฟาร์มตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17065 ใบรับรอมีอายุการรับรอง 3 ปี รายละเอียดในใบรับรอง ระบุเลขที่ใบรับรอง ขอบข่าย และมาตรฐานที่รับรอง รวมถึงวันที่ออกใบรับรอง วันที่ใบรับรองหมดอายุ และวันที่ออกใบรับรองครั้งแรก กรณี ที่เกษตรกร ยื่นขอต่ออายุและได้รับการรับรองต่อเนื่อง วันที่ออกใบรับรองครั้งแรก เป็นไปตามวันที่ออกใบรับรองครั้งแรกในใบรับรองเดิม ซึ่งเกษตรกรสามารถใช้แสดงถึงประสบการณ์ในการพัฒนากระบวนการผลิตของฟาร์มที่ได้ตามมาตรฐาน