เกร็ดความรู้เกี่ยวกับยาสัตว์ สารเคมี และวัตถุอันตรายกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตามมาตรฐาน
โดย กมป.
การเลี้ยงสัตว์น้ำตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี GAP และ มาตรฐาน CoC ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ดังนั้น การใช้ยาสัตว์ สารเคมี และวัตถุอันตรายทางการประมง จึงต้องเป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยในการให้รับรองมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ศรฟ. มีการตรจสอบการใช้ต้องใช้ยาสัตว์ สารเคมี และวัตถุอันตรายทางการประมงที่มีการขึ้นทะเบียนถูกต้อง กรณีที่มีการใช้เป็นไปตามที่ระบุในฉลากและมีบันทึกข้อมูลการใช้ และต้องไม่พบการตกค้างเกินค่าที่กำหนด
รายการ ยาและสารเคมีต้อง และยาต้านจุลชีพที่ได้รับอนุญาตให้ใช้สำหรับสัตว์น้ำ ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ดังนี้
ยาและสารเคมีต้องห้าม
ยาต้านจุลชีพที่ได้รับอนุญาตให้ใช้สำหรับสัตว์น้ำ
จากการตรวจสอบฐานข้อมูลโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข พบว่า มีทะเบียนตำรับยาต้านจุลชีขึ้นทะเบียน ได้รับอนุญาตให้ใช้สำหรับสัตว์น้ำ แบ่งเป็น ตำรับยาเดี่ยว (มีตัวยายาสำคัญ 7 ตัวยา) และตำหรับยาผสม (มีตัวยาสำคัญผสม 5 ชนิด) ดังนี้
ตำรับยาเดี่ยว มีตัวยาสำคัญ 7 ตัวยา
ตำรายาผสม มีตัวยาสำคัญผสม 5 ชนิด
อ้างอิง หนังสือราชการ ที่ สธ 1010/4/1762 ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2555 เรื่อง ขอให้พิจารณาห้ามใช้ยาต้านจุลชีพบางกลุ่มในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ของ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
สำหรบวัตถุอันตรายทางการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จำแนกเป็น 4 กลุ่ม View ซึ่งกรมประมง โดยกลุ่มงานวิจัยสิ่งแวดล้อมทางการประมง เป็นหน่วยรับผิดชอบในการควบคุมการขึ้นทะเบียน ซึ่งสามารถตรวจสอบบัญชีวัตถุอันตรายที่ขึ้นทะเบียนถูกต้องได้ตามรายการ
ค่ามาตรฐานของยาและสารเคมีตกค้างในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของกรมประมง เป็นไปตามระเบียบกรมประมง ว่าด้วยการออกใบรับรองการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับการผลิตสัตว์น้ำ (จี เอ พี) (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2561 View
ทะเบียนวัตถุอันตราย ทะเบียนวัตถุอันตรายชนิดที่2 View และ ทะเบียนวัตถุอันตรายชนิดที่3 View
คำแนะนำในการใช้ยาอย่างถูกวิธี
1. ต้องมีการวินิจฉัยโรคก่อน
2. เลือกใช้ยาให้เหมาะสมกับโรค
3. ควรมีความรู้เรื่องยาที่ใช้
4. ควรมีความรู้เกี่ยวกับสัตว์น้ำที่เป็นโรค เช่น
5. มีการจัดการคุณภาพน้ำที่ถูกต้องควบคู่ไปด้วย
6. ใช้ยาเมื้อมีความจำเป็นเท่านั้น ไม่ใช้พร่ำเพรื่อ
7. ต้องใช้ยาตามเอกสารกำกับยา
8. หยุดใช้ยาตามระยะเวลาที่ระบุในใบกำกับยาก่อนการจับขาย
9. ควรใช้ยาตามที่จดทะเบียนอย่างถูกต้องกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
ตรวจสอบ สารเคมีและวัตถุอันตรายที่ขึ้นทะเบียนต่อกรมประมง View
ข้อควรระว้ง การใช้ ยาและสารเคมีต้องห้าม รวมถึงวัตถุอันตรายทางการประมงที่ไม่ขึ้นทะเยียน อาจส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค ผูใช้ และระบบการผลิต รวมถึงอาจไม่ได้รับการรับรองมาตรฐาน